
คณะทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เข้าร่วมรับการทวนสอบและประเมินผลความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์
วันก่อน นายธฤต สำราญเวทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการทวนสอบระดับความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ปี 2562 จากกองพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ห้องประชุม สำนักงานเทศบาลตำบลบางปู เมืองสมุทรปราการ
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ เชิญคณะทำงานการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ในพื้นที่เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรับการทวนสอบและประเมินผล ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ตามตัวชี้วัด โดยใช้พื้นที่นำร่องดำเนินการในเทศบาลตำบลบางปู ทั้ง 4 ตำบล พื้นที่ 63.5 ตางรางกิโลเมตร โรงงานอุตสาหกรรมร่วม 700 แห่ง
ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่คาดหวังว่าจะได้รับการจัดระดับที่สูงขึ้น สู่เป้าหมายการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (Eco Industrial Town) เป็นเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมต่อไปได้หรือไม่
เป้าประสงค์จะสู่ดวงดาว เป็นหมันหรืออย่างไร ขึ้นอยู่กับเจตนาผู้ร่วมขบวนการณ์คิดนำ สู่ปฎิบัติ
“ ชุมชนอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นสู่การยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชนที่อยู่ร่วมสังคมโดยรอบ ด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยความตั้งใจ จริงใจ และจริงจัง ”
สาระขอบเขตของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่สำคัญ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ขอบเขตของความสัมพันธ์ และ ความร่วมมือ
จะเห็นได้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนา ” เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ” ต่อสิ่งแวดล้อม ลดความต้องการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ/ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดการก่อเกิดของเสีย และมลภาวะต่าง ๆ ลดปริมาณกากของเสียที่นำไปฝังกลบ ประหยัด/อนุรักษ์พลังงาน ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษลงตามลำดับ
ชุมชนสังคมรอบข้าง สามารถขยายโอกาสทางธุรกิจในท้องถิ่น มีงานทำมากขึ้น สร้างโอกาสการทำงานจากธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น โอกาสทางอาชีพและการศึกษา ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีต่อชุมชน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ได้บริษัท/โรงงานที่มีความรับผิดชอบสูง และมีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมเข้ามาอยู่ในพื้นที่ มีความมั่นใจว่า โรงงานที่เข้ามานี้จะทำให้ดิน น้ำ อากาศ สะอาดขึ้น และลดปริมาณของเสียไปพร้อม ๆ กัน เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน
โรงงาน บริษัท ธุรกิจ ใช้นโยบายการ “นำกลับมาใช้ใหม่” ช่วยลดรายจ่ายในการทำธุรกิจ และเพิ่มผลกำไร โดยการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบและพลังงาน โอกาสในการขยายตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์พลอยได้และของเสียต่างๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพของการควบคุมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พนักงานมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น มีความสุขในการทำงานมากขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพและผลผลิตใน การทำงาน ร่วมมือกับโรงงานอื่นๆ ในการจัดการของเสีย การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ข้อมูลสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรม ระบบการจัดซื้อ ลดความไม่น่าเชื่อถือทางด้านสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามกฎหมายได้ดีขึ้น ส่งเสริมภาพพจน์ของบริษัท มีส่วนร่วมกับบริษัทและองค์กรอื่น ๆ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน
นโยบายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ มุ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ที่สอดรับกับแนวนโยบายการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นการสร้างความเชื่อมโยงในการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ตามแนวนโยบายของรัฐ เป็นองค์กรนำในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ส่งเสริมปัจจัยแวดล้อมเพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาระบบเชิงนิเวศน์ รณรงค์และส่งเสริมการให้ความรู้ความตระหนักแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถบรรลุสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มุ่งเน้นการพัฒนาตามแนวคิดเมืองอุตสาหกรรมแบบสร้างสรรค์
เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเป็นการนำร่องพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ จัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะและเกณฑ์ตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ทำเป็นแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนำร่อง
ก้าวต่อไปคือการขยายและต่อยอดพื้นที่ในการพัฒนา คุมธุรกิจที่มีการเปิดดำเนินงานทั้งหมดเข้าสู่ระบบการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ โดยมีการดำเนินงานตามแผนแม่บทของ นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์
แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความจริงใจของเจ้าของธุรกิจว่าจะให้ความร่วมมือกันอย่างจริงใจเพียงไหนหรือเพื่อแค่เปิดประเด็นให้สังคมได้รับทราบเพียงพอ