อนาคตใหม่จัดงาน “เตะฝุ่น รัฐเฉย เราไม่เฉย “ เครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อมไทยยื่นหนังสื่อให้ตรวจสอบฝุ่นใต้สถานีรถไฟฟ้า

0
1361

 

 

เมื่อวันที่ 2 กุภาพันธ์ 2563  ชั้น 5 สำนักงานใหญ่ พรรคอนาคตใหม่  อาคารไทยซัมมิต กรุงเทพฯ เครือข่ายสิ่งแวดล้อม โดย นายนิติพล ผิวเหมาะ  โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร  นายกัญจน์พงค์ จงสุทธนามณี โฆษกคณะกรรมาธิการ กมธ. การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนฯ  นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่วมจัดงาน “เตะฝุ่น รัฐเฉย เราไม่เฉย “งานนี้ เป็นการเปิดประชันความรู้ความสามารถ ผู้เข้าร่วมจะได้นำเสนอไอเดีย (ข้อมูล, แผนการดำเนินงานบริหารจัดการ, สิ่งประดิษฐ์, แผนการรณรงค์, ข้อเสนอนโยบาย ฯลฯ) โดยไอเดียต่างๆ จะถูกนำมาแปรเปลี่ยนเป็นข้อเสนอแนะ นโยบาย และแผนการทำงานของพรรคอนาคตใหม่เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุด มี เครือข่ายสิ่งแวดล้อม ภาคประชาสังคม นักเรียน นักศึกษา ประชาชนผู้ไม่ทนสูดฝุ่นพิษ ร่วมกันระดมความคิด นำเสนอแผนปฏิบัติการสู้ภัยฝุ่น PM 2.5 เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากโดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

1.นำเสนอนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ หรือระบบใดๆ ที่ใช้ในการตรวจวัดฝุ่น, กำจัดฝุ่น, รายงานผลต่อสาธารณะได้ 

 

2.นำเสนอนโยบาย หรือแผนปฏิบัติการระยะสั้น – กลาง – ยาว โดยเน้นแผนงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

 

  1. เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือ มีส่วนช่วยในการจัดการปัญหาฝุ่นของประเทศ (Open Idea)

 

นายสมศักดิ์ รัตนกังวานวงศ์ ประธานเครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อมไทย ได้มายื่นหนังสือให้ตัวแทนผู้จัดงาน มีนายนิติพล ผิวเหมาะ นายกัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี  มารับหนังสือข้อร้องเรียน เรื่องปัญหามลพิษฝุ่น pm 2.5 ที่เกิดขึ้นบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตบางรัก ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงเทพ ทำให้มีควันพิษที่เกิดขึ้นจากรถยนต์ที่สัญจรอย่างหนาแน่น

นายสมศักดิ์  ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ในช่วงแรก สถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง เคยมีการปลูกต้นไม้แต่ต่อมาเพราะเหตุใดไม่ทราบจึงทำให้พื้นที่นั้นกลายสภาพเป็นพื้นปูนซิเมนต์เสียส่วนใหญ่ ทำให้ขาดต้นไม้ พื้นที่สีเขียวที่จะมาฟอกอากาศได้ มีป้ายโฆษณาขึ้นติดกับเสาตอม่อของสถานีรถไฟฟ้าแทนต้นตีนตุ๊กแก

 

นายนิติพล โฆษณคณะกรรมาธิการ การที่ดิน ฯ กล่าว ตนจะนำปัญหาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไปปรึกษาหารือใน คณะ กมธ. การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ว่าจะมีแนวทางตรวจสอบเรื่องนี้อย่างไรเพื่อให้บรรลุผลและเป็นบรรทัดฐานที่ดีในการพัฒนาพื้นที่ต่อไป