31 C
Samut Prakan
Friday, October 18, 2024
spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

spot_img

ค.ร.อ.ท.ห่วง สอศ.จัดกิจกรรม ประกวด แข่งขันฯ มากเกินได้แต่หนุก ผลาญงบ หวั่นกระทบ คุณภาพการเรียน!

ค.ร.อ.ท.เรียกร้องให้ สอศ.หยุดวิธีคิด ปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรม การประกวด การแข่งขันฯ ที่มากเกิน สิ้นเปลืองงบ หวั่น อาจกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอนของวิทยาลัย

        เครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.)โดยนายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายฯ ได้รวบรวมข้อคิดเห็นและร่วมกันวิเคราะห์วิพากษ์เพื่อหาข้อสรุปฯ จะได้นำข้อเสนอแนะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประกวดการประเมินการแข่งขันที่กระทบต่องบประมาณของวิทยาลัยการบริหารงานของผู้บริหารการจัดการเรียนการสอนของครูโดยเห็นควรเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อเป็นการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลก มีคำถามว่าการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าว มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนหรือต่อการบริหารวิทยาลัยฯหรือไม่ ที่ผ่านมาอาชีวศึกษามีการจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปี การประกวดการแข่งขันการประเมินต่างๆ เช่นการประกวดการแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐานการประชุมวิชาการ/การประกวดโครงงานวิทย์-เอสโซ่/การประกวดประเมินศูนย์บ่มเพาะ/การแข่งขันขับขี่ปลอดภัย/การประกวดสิ่งประดิษฐ์อาชีวะ/การประกวดสถานศึกษาทวีภาคี/การประกวดรถประหยัดพลังงาน/การแข่งขันหุ่นยนต์/รวมถึงการประเมินสุขาดีมีความสุขฯลฯ เป็นต้น

      มีคำถามถึงผู้บริหารระดับสูงอาชีวะว่า จากการจัดกิจกรรมการแข่งขัน การประกวด การประเมินฯ ที่กล่าวมาอาจจะไม่ทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเป็นการดำเนินการ ตลอดปีการศึกษาอย่างแน่นอน คำถามคือ มีการทำวิจัยประเมินวิเคราะห์ไหมว่า จากผลการประกวดการแข่งขันการประเมินมาตลอดระยะเวลายาวนาน ทำให้ มีการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนดีขึ้น ได้รับการยอมรับจริงหรือ เรื่องนี้จะหาคำตอบได้จากไหน

        สมาชิกเครือข่ายฯค.ร.อ.ท.จึงตั้งคำถามว่าถึงเวลาหรือยังที่ผู้บริหารระดับสูงจะต้องลงมาพิจารณาทำการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการแข่งขันประกวดประเมินต่างๆการประกวดการประเมินใดบ้างมีความสำคัญต่อผู้เรียนในภาพรวมหรือการประกวดการประเมินใดควรที่จะยกเลิกหรือการประกวดการประเมินใดที่จะให้จบที่วิทยาลัยหรือในระดับจังหวัดหรือมากสุดที่ระดับสถาบันเป็นไปได้หรือๆม่

       เหตุที่สมาชิกฯ ค.ร.อ.ท.ได้พูดกันถึงเรื่องนี้กันมากๆ ก็เพราะมีคำถามมามากมายว่างบประมาณฯ ที่ใช้ในการประกวดประเมินแต่ละปีเป็นยอดงบประมาณเท่าไหร่ สอศ.เคยสรุปและเสนอให้ประชาชนได้รับทราบหรือไม่เพราะมันคือภาษีของประชาชน ประเด็นครูผู้สอนต้องทิ้งห้องเรียนใช่หรือไม่ เพื่อที่จะไปกำกับควบคุมการแข่งขันบ้างหรือบางส่วนไปเป็นกรรมการบ้าง และที่สำคัญคือผู้บริหารวิทยาลัยจำนวนมากที่จะต้องไปเป็นคณะกรรมการจัดการแข่งขันไม่ว่าระดับจังหวัดระดับภาคหรือระดับชาติต้องทิ้งการบริหารงานของวิทยาลัย ทุกอย่างล้วนการใช้งบประมาณของวิทยาลัยที่มีอย่างจำกัดแทนที่จะจะใช้งบประมาณที่มีอยู่ได้พัฒนาการเรียนการสอน ขณะเดียวกันผู้เรียนที่ไม่ได้เข้าไปร่วมกันแข่งขันก็ได้รับผลกระทบเช่นกันใช่หรือไม่ ขาดครูผู้สอนดังนั้นค.ร.อ.ท. จึงขอให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ )ได้พิจารณาได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงว่าการแข่งขันการประกวดการประเมินใดทำให้เกิดผลกระทบด้านใดบ้างหรือผลดีต่อการบริหารจัดการการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง คำตอบนี้พี่น้องประชาชนคงรอคำตอบ
ด้านนายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานฯค.ร.อ.ท.ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นการประกวดการแข่งขัน การประเมินฯในสถานศึกษาของอาชีวศึกษาภาครัฐนั้นเป็นการดำเนินการฯ มากเกินความจำเป็นย่อมเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนแน่นอน ที่นำเสนอเรื่องนี้ต่อประชาชน ผู้ปกครอง และจะทำหนังสือยื่นถึงเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)ได้พิจารณาดำเนินปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดกิจกรรม การประกวดการประเมินการแข่งขันดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้วิทยาลัยต่างๆได้มีเวลาบริหารพัฒนาการเรียนการสอนภายในสถานศึกษาของตนเองเต็มเวลา คืนครูผู้สอนสู่ห้องเรียน นักศึกษาก็ได้รับการเรียนการสอนเป็นปกติ ไม่ต้องเตรียมการในการแข่งขันหรือการประเมินใดๆ อีก เพราะว่าการแข่งขันการประเมินแต่ละครั้งไม่ใช่เวลาแค่ 3 ชั่วโมง 5 ชั่วโมงแต่ต้องเตรียมการล่วงหน้าอย่างน้อยเป็นสัปดาห์

      โดยที่สมาชิกเครือข่ายฯ ค.ร.อ.ท.ไม่ได้ต่อต้านการแข่งขันการประกวดทุกกรณี แต่อย่างใด? เพียงแต่ให้ข้อเสนอแนะว่ากิจกรรมใดมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนต่อการสร้างคุณภาพของผู้เรียนก็ควรดำเนินการต่อหรือหรือกิจกรรมใดไม่ได้สร้างหรือสนับสนุนผู้เรียนให้มีคุณภาพก็ควรจะได้พิจารณายกเลิกหรือให้เป็นการตัดสินใจให้สถานศึกษาแต่ละสถานศึกษาพิจารณาด้วยตนเอง ดังนั้นเมื่ออำนาจการบริหารสั่งการยังอยู่ที่ส่วนกลางก็ควรที่จะพิจารณาว่ากิจกรรมใดควรจะจัดแค่ระดับวิทยาลัย กิจกรรมใดควรจัดจบที่ระดับจังหวัดหรือแค่ระดับสถาบันฯ มันน่าจะเป็นการเพียงพอต่อการสร้างภาพลักษณ์ของอาชีวะได้มากกว่าการที่จะทำโดยถือว่าการแข่งขัน การประกวดฯลฯกลายเป็นประเพณีที่ต้องทำทุกปี ซึ่งไม่น่าจะใช่จึงขอฝากประเด็นนี้ให้เลขาฯ สอศ.ได้พิจารณาดำเนินการแก้ไขต่อไป

เพิ่มเพื่อน Line Official

spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

ข่าวเด็ด ห้ามพลาด