back to top
34.5 C
Samut Prakan
Monday, July 7, 2025
spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

spot_img

บช.น.เข้ม !  จัดเสวนาประสานความร่วมมือ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสถาบันการศึกษา ตามแนวทาง “ มีนบุรีโมเดล”

ตำรวจนครบาล จัดเสวนาวางมาตรการ  สำรวจสถาบันการศึกษาที่เป็นคู่กรณีกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อเหตุ ทะเลาะวิวาท เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนประสานงาน และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเหตุนักเรียน นักศึกษาทะเลาะวิวาท 

          เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ห้องประชุม อาคาร BRI ชั้น 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีการเสวนาประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างสถาบันการศึกษา ตามแนวทาง มีนบุรีโมเดล ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา รอง ผบช.น.  นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผอ.สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย พ.ต.อ.โฆษิต บุญทวี รอง ผบก.น 3 นายปรวี  ศรีสง่า ผอ.วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค นางณัฐหัชร์ ศิริเสถียร ผอ.โรงรียนนนทรีวิทยา  นายพิชัย โฆษิตพันธวงศ์ ผอ.สำนักบริหารอาคารและสถานที่ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน, นายทินกร ปลอดภัย เลขากรรมาธิการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร (ตัวแทนศิษย์เก่าอาชีวะ) มีผู้เข้ารับฟัง ผกก.ทุก สภ. ผู้บริหารสถาบันการศึกษา  กว่า 100 คน 

         ในการเสวนามี 3 ประเด็นสำคัญ ผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างสถาบันการศึกษา,  มีนบุรีโมเดล กับการนำไปแก้ปัญหาความขัดแย้ง, และปัญหาที่ถูกแก้ด้วย มีนบุรีโมเดล 

          สารสำคัญนั้นคือการแก้ปัญหาการทะเลอะกันของนักเรียน จะรวมกันแก้อย่างร  

          พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา รอง ผบช.น. กล่าวตอนหนึ่งว่า โรงเรียนไหนที่มีผู้บริหารไม่สนใจแก้ปัญหาไม่ใส่ใจปล่อยให้นักเรียนทะเลาะซ้ำกันบ่อยๆ  ไม่ให้ความร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารท่านนั้นก็ไม่สมควรที่จะอยู่ในสถาบัน ที่มีนักเรียนจำนวนมาก 3000 คน อาจจะต้องไปอยู่ในโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 500 คน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามสถานีต่างๆ ซึ่งปริมาณงานหรือศักยภาพแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ผู้บริหารหรือผู้กำกับ สภ.นั้นหากปล่อยให้เกิดมีการทะเลาะของนักเรียนกันบ่อยครั้งมากขึ้น ก็ไม่สมควรที่จะอยู่ใน สภ. นั้น 

          ความสำคัญนั้นคือการที่ผู้บริหารจะต้องลงไปทำงานเอง ลงติดตามเองไม่ใช่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างลงไป ต้องคอยสอดส่องเพื่อความศักดิ์สิทธิ์หรือความเชื่อใจ วันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามแก้ปัญหา แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากสถาบันด้วย 

      ความสำคัญนั้นคือการที่ผู้บริหารจะต้องลงไปทำงานเอง ลงติดตามเองไม่ใช่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างลงไป 

 

          ทางด้านนายทวีศักดิ์ คิ้วทอง กล่าวว่า ในส่วนของอาชีวะ ได้รับนโยบายจากท่านนายกรัฐมนตรีทางกระทรวงศึกษาธิการ และ ท่านเลขาธิการอาชีวะ  ก็ได้แจ้งแนวปฏิบัติไปทุกสถานศึกษาทั่วทั้งประเทศ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ แล้วก็ได้สั่งให้พื้นที่ ที่ต้องเฝ้าระวังดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องมีการดำเนินการ ตามมาตรการทั้งป้องกันปลูกฝังและก็อาจจะจำเป็นถึงขั้นมีการให้ตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยในการแก้ไขปราบปรามไปด้วยพร้อมกัน

         เราก็ได้มีการใช้มาตรการในการทำแผนเฝ้าระวังป้องกันเหตุโดยเฉพาะร่วมกับทาง บชน. ในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้เข้มข้นเหมือนกัน โดยเฉพาะช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ๆ  ซึ่งมีปรากฏตามสื่อว่ามีประเด็นมากกว่าพื้นที่อื่น และก็ได้เข้าไปประชุมผู้บริหารแก้ปัญหา ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการแก้ไข เป็นระยะเช่นเดียวกัน

เพิ่มเพื่อน Line Official

spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

ข่าวเด็ด ห้ามพลาด