back to top
28.2 C
Samut Prakan
Wednesday, February 5, 2025
spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

spot_img

อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อ ยอด ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง

” โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ” เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงพระราชทานชื่อ โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงพระราชทานชื่อ แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          เมื่อวันที่ 24  ก.พ.64  ห้องประชุมศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน มีการพูดถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานด้านวิชาการ โดยมีแนวทางเน้นให้ทุกคนได้เห็นปัญหา กับสภาพที่เกิดขึ้น ได้ตระหนักถึงปัญหาใหญ่ๆ  คือเป็นเรื่องความอยู่รอดของชาติบ้านเมือง ทุกคนถ้าได้เข้าใจ เข้าถึง และร่วมมือกันทำ ร่วมมือกันพัฒนา โดยเริ่มจากพัฒนาตนก่อน ทุกคนก็จะเป็นฮีโร่ของตนเองและของลุ่มน้ำ ของประเทศชาติ 

          สิ่งที่สำคัญ คือ การให้ทุกคนได้เรียนรู้แนวพระราชดำริ เพื่อความสุขในชีวิต ละทุกขั้นตอนสามารถเรียนรู้ได้ตลอด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ภาพวาดการ์ตูนพระหัตถ์ คือ อารยเกษตร เป็นการสืบสาน (อภิรักษ์ continuing) รักษา (อนุรักษ์ sustainable) ต่อยอดฒน์ development) continuing sustainable development สอดรับกับการพัฒนาอย่า ของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งจะเป็นต้นแบบตัวอย่างของความสำเร็จ ทั้งทางด้านรูปธรรมและนามธรรมโดยน้อมนำองค์ความรู้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ตลอดจนคุณธรรม จากการได้ ลงมือ ลงใจ ศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเอง จนเกิดผล

          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแผนการดำเนินงานในปีการศึกษา 2564 -2566 โดยความร่วมมือกับศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้การดำเนินโครงการระยะที่ 1 การเตรียมการพื้นฐาน ซึ่งเป็นการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่จริง ประกอบด้วย โรงเรียนนำร่องระยะที่ 1 จำนวน 35 โรงเรียน โรงเรียนนำร่องระยะที่ 1 (เพิ่มเติม) จำนวน 67 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 102 โรงเรียน 

          ดำเนินการต่อเนื่องในโรงเรียนนำร่องระยะที่ 2 จำนวน 88 โรงเรียน ประกอบด้วย กลุ่มโรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานครให้สายน้ำ) จำนวน 20 โรงเรียน กลุ่มโรงเรียนในจังหวัดสระแก้ว (สระแก้วสำนึกคุณแผ่น 12 โรงเรียน และกลุ่มโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ราชประซานุเคราะห์) (เดินตามพ่อสู่ความพอเพียง) จำนวน 56 โรงเรียน มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้ทีมครูปฏิบัติการอารยเกษตรและโรงเรียนแกนนำอารเกษตรรุ่นที่ 1 จำนวน 13 โรงเรียน ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2567 เป็นการดำเนินงานขยายผลสู่โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้ง 245 เขตพื้นที่ โดยมีจุดเน้นและแนวทางการขับเคลื่อนในรูปแบบโรงเรียนอารยเกษตร สร้างอารยชน รูปแบบการดำเนินงานดอกไม้ 5 กลีบ เป็นโครงสร้าง 5 องค์ประกอบ เพื่อปรับเปลี่ยนเรียนรู้วิถีอารยะ อารยเกษตร สร้างอารยชน ประกอบด้วย 1) ครูโค้ช (Coaching) สร้างครูพาทำ 2) 3D+ (ผู้อำนวยการสถานศึกษาดี ศึกษานิเทศก์ดี กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดี) 3) ROPE Model (เส้นด้ายที่พ้นกันเป็นเกลียว ที่เหนียวแน่นและแข็งแรง) 4) KIDs Model ลดภาระครู บูรณาการการประเมิน และ 5) ห้องเรียนอารยเกษตร ปรับเปลี่ยนเรียนรู้วิถี

          ผลการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจสามารถจัดการศึกษาโดยการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนา เพื่อเป็นการสร้างต้นแบบ เกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก และสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานแนวความคิด ฝึกวินัย ลงมือปฏิบัติแก้ปัญหาจริงในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ในสถานศึกษา ให้เกิดผลในมิติต่างๆ ทางด้านการพึ่งพาตนเอง มีความกตัญญูการพัฒนาจิตใจ การพัฒนาทางปัญญา รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนได้ มีแผนการดำเนินงานโครงการ และสามารถขยายผลสู่โรงเรียนอื่นๆได้ 

ทำให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียน มีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือชุมชนการให้บริการวิชาการด้านต่างๆ ความร่วมมือกับชุมชน และสร้างเครือข่ายทางวิชาการอย่างยั่งยืน 

          เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ ห้องประชุมโรงแรมริเวอร์ไซด์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการอารยเกษตร สืบสานรักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

        ” โคก หนอง นาแห่งน้ำใจและความหวัง” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ขยายผลสู่โรงเรียนอารยเกษตร โดยใช้อำเภอเป็นฐาน เพื่อขยายผลการดำเนินงานตามโมเดล โรงเรียนอารยเกษตร อารยเกษตรสร้างอารยชน และได้ขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ อย่างต่อเนื่อง 

         โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง “ปูทะเลย์ มหาวิชชาลัย” มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ทีมวิจัย คณะทำงานส่วนกลางส่วนภูมิภาค และโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร จำนวน ๑๓ โรงเรียนจาก ๑๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้การขยายผลโรงเรียนอารยเกษตร ได้พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนอารยเกษตรสู่นักเรียนได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยการขับเคลื่อนได้ดำเนินงานเป็นรูปธรรมและขยายผลสู่โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละภูมิภาค และทุกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป

         ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่า ขอแสดงความชื่นชม และขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีความตั้งใจ ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนอารยเกษตร ภายใต้โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษาต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในครั้งนี้ จะได้รับประโยชน์เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพของนักเรียนในภาพรวมต่อไป

        หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนอารยเกษตร ภายใต้โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  ด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

       ทุกท่านได้รับความรู้ และประสบการณ์จากคณะวิทยากร ผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นอย่างดียิ่ง อันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของท่านให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และขอขอบคุณท่าน พลตรี กัลย์สรรค์ จันทรเสน พลโท สมบัติ ธัญญะวัน อาจารย์เอื้อมพร ลอยประดิษฐ์ คณะวิทยากร บุคคลเหล่านี้ทำงานถวายเบื้องพระยุคลบาทมาตลอด และผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่าน  ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าว


เพิ่มเพื่อน Line Official

spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

ข่าวเด็ด ห้ามพลาด