back to top
26.3 C
Samut Prakan
Saturday, December 7, 2024
spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

spot_img

กรรมาธิการการศึกษา สัมมนา“ทิศทางการศึกษาไทยต่อร่าง พ.ร.บ..การศึกษาชาติ ฉบับใหม่

ส.ส. ปรีดา บุญเพลิง กรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร นำคณะชวนคิดชวนคุย กับสมาชิก สมาคมฯ ชมรมฯ ข้าราชการ ศธ. นำข้อมูล ข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา”ทิศทางการศึกษาไทยต่อร่าง พ.ร.บ.การศึกษาชาติ ฉบับแก้ไข ”

          วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 หอประชุมคุรุสภา  นายปรีดา  บุญเพลิง กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ ประธานเปิดการสัมมนา ทิศทางการศึกษาไทยต่อร่าง พ.ร.บ..การศึกษาชาติ     มีผู้เข้าร่วมรับฟังจากหลายกลุ่ม ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ สมาคมฯ ชมรมฯ บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ตลอดถึงผู้สนใจกว่า  200 คน  มีการถ่ายทอดการสัมมนาให้ผู้สนใจรับฟังได้ทั่วประเทศ

         ในเวทีการสัมมนา มีการอภิปราย เรื่องทิศทางการศึกษาไทยต่อร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ….  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการศึกษาไทยต่อร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ยังให้คณะกรรมาธิการได้รับความข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่มีความหลากหลายของผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้  เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับไปประกอบการพิจารณา

          นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานฯ ค.ร.อ.ท. วิทยากร ร่วมสัมมนา ได้อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาอาชีวศึกษา โดยให้กรรมาธิการได้พิจารณาถึงการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ควรที่จะจัดการศึกษาที่เป็นเอกภาพ   คือระดับ ปวช.ปวส.และปริญญาตรี  นั้นปัจจุบันดำเนินการโดยอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอให้คณะกรรมการกรรมาธิการได้พิจารณาถึงร่าง พ.ร.บ. การศึกษาที่จะนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมาธิการการศึกษาหรือในรัฐสภา ควรที่จะมีมาตราใดมาตราหนึ่ง ระบุให้ชัดเจนว่าการจัดการอาชีวศึกษา ต้องเป็นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น    เหมือนเช่นมาตราที่ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา 

“การจัดการศึกษาควรแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับปฐมวัย ระดับพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมุ้งเน้นไปที่ความต้องการของท้องถิ่น  การจัดการศึกษา  ไม่นำการศึกษาที่ย้อนยุคในอดีตกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัย”

          นายเศรษฐศิษฏ์  ให้เหตุผลว่า  การจัดการอาชีวศึกษานั้นต้องแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับต้นคือการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนระดับกลางคือการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับสูงคือการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี   ด้านเทคโนโลยีควรเป็นการจัดการที่เป็นเอกภาพไม่ใช่ตามร่างฯ ที่คณะกรรมาธิการได้เสนอประธานรัฐสภาไปนั้น อยู่แค่ ระดับวิชาชีพ ปวช. ซึ่งแค่พื้นฐาน  ส่วนการศึกษาระดับ  ปวส. ป ตรี.ต้องอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง  

          ประธานฯ ค.ร.อ.ท.เพิ่มเติมว่าการจัดการศึกษาควรแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับปฐมวัย ระดับพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดการศึกษา  ทั้งนี้ได้เสนอที่สัมมนาถึงโครงสร้างการบริหารกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันนี้มีความเหมาะสมแล้วไม่ควรยกเลิกแท่งต่างๆที่มีอยู่ปัจจุบันคือแท่งการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาอาชีวศึกษาและสภาการศึกษา เพียงแต่ขอให้การบริหารจัดการมีการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งเพื่อให้ประโยชน์กับเกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มากกว่าที่เป็นอยู่และการอาชีวศึกษาต้องมีความสัมพันธ์กับการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคีมีการออกกฎหมายรองรับโดยความร่วมมือการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกับภาคเอกชนสถานประกอบการนั้นจะทำให้การจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษามีความเข้มแข็ง จึงจะทำให้การศึกษาด้านอาชีวศึกษานั้นสามารถผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นกำลังของประเทศชาติได้อย่างแท้จริง

           ตอนท้ายของการนำเสนอในวงสัมมนานายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงเรื่องร่าง พ.ร.บ.การศึกษาการศึกษาชาติ…ฉบับที่คณะกรรมาธิการได้ยื่นต่อประธานรัฐสภาโดยที่มีการกำหนดแนวปฏิบัติไปในทิศทางการเป็นระบบบริหารจัดการ แบบ single command ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องบริหารจัดการการศึกษาที่ย้อนยุคในอดีตกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นการกระบวนการคิดที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับยุคสมัย จะต้องกระจาย   อำนาจไปยังสถานศึกษา ตามเขตพื้นที่ต่างๆ ให้สามารถบริหารจัดการเพื่อสนองต่อความต้องการของการศึกษาของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น ที่มีความต้องการแตกต่างกันไปไม่ใช่การรวบอำนาจไว้บริหารสั่งการที่ส่วนกลาง  ส่วนกลางควรเป็นแค่ผู้ให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวกเท่านั้น จึงจะถือว่ามีความเหมาะสมต่อการบริหารอย่างแท้จริง

 

เพิ่มเพื่อน Line Official

spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

ข่าวเด็ด ห้ามพลาด