back to top
27.5 C
Samut Prakan
Thursday, December 12, 2024
spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

spot_img

กังขา ! เลขาอาชีวะชิงประกาศใช้เกณฑ์เก่าสอบผอ. 33 ตำแหน่ง

รอง ผอ. อาชีวะทั่วประเทศร้อง ค.ร.อ.ท.ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ สอศ. ยกเลิกเกณฑ์การสอบ ผอ.ที่ไม่มีหลักธรรมาภิบาลและขาดความโปร่งใส กลุ่มรอง ผอ.อาชีวะที่จะสอบผอ.ตำแหน่งว่าง 33 ตำแหน่ง ข้องใจเกณฑ์สอบ ผอ.ใหม่ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือ สอศ. ได้ประกาศรับสมัครสอบผู้อำนวยการวิทยาลัยตามประกาศฯ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ทำให้กลุ่มรองผู้อำนวยการวิทยาลัยทั่วทั้งประเทศต่างข้องใจว่าเหตุใด อ.ก.ค.ศ. อาชีวศึกษาจึงไม่ใช้เกณฑ์ใหม่ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2568 ที่จะถึงนี้ 

เพราะเหตุใด สอศ.จึงรีบเร่งใช้เกณฑ์เก่าในการสอบครั้งนี้ทั้งที่เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน และที่สำคัญไม่มีการขึ้นบัญชีผู้สอบผ่านเกณฑ์แต่อย่างใด ทั้งที่เกณฑ์ใหม่นั้นมีหลักเกณฑ์กติกา ที่น่าเชื่อมั่นว่าได้คนที่มีความรู้และประสบการณ์มีคุณธรรมจริยธรรม เพราะว่าเกณฑ์ใหม่กำหนดคุณสมบัติ มีหลักเกณฑ์ที่มีระบบที่โปร่งใส มีการประกาศผลที่ละภาค ตั้งแต่ภาค ก ป้องกันการวิ่งเต้นแทรกแซงได้ดีกว่าเกณฑ์เก่า ซึ่งจะส่งผลดีต่อ สอศ.ที่จะได้ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีมีคุณภาพมากกว่าเกณฑ์เก่าที่มีข้อครหาอย่างมากในการสอบครั้งก่อนหน้านี้

แม้ว่า สอศ.จะอ้างว่ามีตำแหน่งว่างเพื่อให้การดำเนินการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เก่าได้มีสิทธิ์สอบ แต่จากการตรวจสอบรายชื่อประกาศขึ้นบัญชีผู้ของสอบผู้อำนวยการครั้งที่ผ่านมาซึ่งหมดวาระเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567  แต่ทาง สอศ. กลับไม่มีการเร่งรัดการสอบโดยปล่อยทิ้งเวลานานกว่า 8 เดือนทั้งที่วิทยาลัยต่างๆ ที่ขาดผู้บริหารก็ต่างรอความหวังว่า สอศ.จะเร่งดำเนินการจัดสอบ ผอ. ถ้ามีการเร่งรัดจริงทำไม สอศ. จึงไม่ดำเนินการประกาศสอบตั้งแต่นั้นปล่อยปะละเลยมาจนจะหมดกำหนดการใช้เกณฑ์เก่าในการสอบ จนถึงช่วงเวลาที่ กคศ. ประกาศใช้เกณฑ์ใหม่ จึงคิดได้ และที่สำคัญการสอบครั้งนี้จึงดูมีพิรุธ เป็นที่สังเกตุของหลายฝ่าย ว่าเหตุใดที่สอศ. กลับไปใช้เกณฑ์เก่าทั้งที่มีเกณฑ์ใหม่แล้ว แถมเกณฑ์เก่ามีข้อร้องเรียน มีปัญหาในการสอบครั้งที่แล้วหลายประการ เช่น การสอบภาค ก ด้านความรู้และความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ โดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย (ระเบียบ กฎหมาย) กำหนดไว้แค่ 10 คะแนนเท่านั้น ไม่มีกำหนดเกณฑ์การผ่าน ไม่มีการประกาศคะแนนให้ทราบ ใครได้คะแนนเท่าไหร่ก็ไปต่อภาค ข ได้แบบสบายใจเฉิบ จนมีคนตั้งคำถามว่าแล้วจะสอบไปทำอะไร?

ส่วนภาค ข ด้านความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ 60 คะแนน มีการตั้งกรรมการประเมินตั้งแต่ระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับ สอศ. เป็นรอบสุดท้าย ทั้งๆเป็นหัวข้อการให้คะแนนตามแบบเดียวกัน ไม่มีกำหนดเกณฑ์การผ่าน ไม่มีการประกาศคะแนนให้ทราบเช่นเดียวกับภาค ก ใครได้คะแนนเท่าไหร่ก็ไปต่อภาค ค ได้ คือรอบสัมภาษณ์ซึ่งกำหนดคะแนนไว้สูงสามารถชี้เป็นชี้ตายได้ ตั้งคะแนนไว้ 30 คะแนน รวมทั้งหมด 100 คะแนน  โดยที่ สอศ. ดำเนินรวมคะแนนภาค ก, ข และ ค รวมคะแนนครั้งเดียวแล้วประกาศผู้ผ่านเกณฑ์รวม 60 คะแนน เพื่อบรรจุแต่งตั้งแทนตำแหน่งว่าง 33 อัตรา “โดยไม่ขึ้นบัญชี”  

กลุ่มรอง ผอ. เห็นว่าเป็นการดำเนินการในครั้งนี้ไม่น่าจะโปร่งใส เพื่อให้มีความเป็นธรรมมีหลักธรรมาภิบาล สร้างขวัญกำลังใจ ให้กับบุคลากรในสังกัดหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเท่าเทียมกัน 

จึงส่งเสียงผ่านนายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.) ขอให้เป็นกระบอกเสียง เป็นตัวแทนฯ เพื่อคัดค้านและร้องต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง เพราะไม่กล้าที่จะร่วมกันออกมาแสดงตนด้วยเหตุกลัวได้รับผลกระทบในหน้าที่ราชการกลัวอำนาจมืดอาจจะได้รับการขึ้นบัญชีดำหรือเกิดการกลั่นแกล้งไม่ว่ากรณีใดๆ ในอนาคต และอาจจะไม่ได้รับความยุติธรรมในการสอบในครั้งนี้

 

 ด้วยเหตุนี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ)ได้พิจารณาเรียกผู้เกี่ยวข้องสอบสวนถึงเหตุผลในการเร่งรัดการจัดการสอบในครั้งนี้ โดยใช้เกณฑ์เก่าตามเหตุผลที่กล่าวมา ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล สอศ. ได้ลงมาตรวจสอบว่าเหตุใด สอศ.มาเร่งรัดการดำเนินการรับสมัครสอบในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่เหลือเวลาอีกไม่กี่วันควรจะรอเกณฑ์ใหม่ ที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นการกระทำด้วยความรีบร้อนและที่สำคัญเกณฑ์การสอบครั้งนี้อาจเกิดความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมกับผู้เข้าสอบทั้งประเทศได้ ควรที่ท่านรมต.ศธ.ที่ท่านได้ประกาศมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องความยุติธรรมและหลักธรรมาภิบาลในการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ข้าราชการ ได้พิจารณาสั่งการให้ สอศ.ได้ยกเลิกประกาศรับสมัครสอบของ สอศ. ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีหลักธรรมาภิบาลในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

และประธาน ค.ร.อ.ท. ยังขอฝากคำถามถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ถามไปยังเลขาธิการสอศ.ด้วยว่าเหตุใดการสอบครั้งนี้ เหตุใดเบื้องต้น สอศ. จึงไม่ให้ความสำคัญที่จะคัดคนที่มีความรู้ด้านความรู้กฎระเบียบต่างๆ เพื่อจะได้เป็นผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถโดยให้ผ่านเกณฑ์ภาค ก ก่อน แต่สอศ.กำหนดให้สอบภาค ก  10 คะแนนหรือ 10% แต่สอศ.กลับให้ความสำคัญด้านการสัมภาษณ์ซึ่งใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีแต่กำหนดให้คะแนนสูงถึง 30 คะแนนทั้งที่คะแนนประสบการณ์ในการทำงานก็อยู่ในส่วนของภาค ข สูงถึง 60 คะแนน หรือ 60% ทุกคนสงสัยกันมากว่า สอศ.ใช้หลักการและเหตุผลใดมากำหนดเกณฑ์ ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยหากคนที่สอบภาค ก ได้  0 หรือ 1-2 คะแนน คือ ไม่ได้มีความรู้ เรื่องระเบียบกฎหมายในการบริหาร ก็สามารถที่จะไปสอบภาค ข และภาค ค ย่อมได้รับการบรรจุแต่งตั้งได้เช่นกัน 

ซ้ำร้ายการสอบครั้งนี้ยังไม่มีการขึ้นบัญชีของผู้สอบผ่านเกณฑ์แต่อย่างใด?  แทนที่เบื้องต้น สอศ.ควรคัดคนที่มีความรู้ความสามารถฯโดยผ่านเกณฑ์ภาค ก ก่อนจึงให้มีสิทธิ์สอบภาค ข และภาค ค เพื่อเน้นย้ำที่จะได้คนมีความรู้ความสามารถมาบริหารอาชีวศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ อาจทำให้ประชาชนสงสัยว่าได้คนในระบบอุปถัมภ์หรือคนที่มีเส้นสายวิ่งเต้นเก่งมาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาหรือไม่  นายเศรษฐศิษฏ์ กล่าว

 

เพิ่มเพื่อน Line Official

spot_img

ข่าวใหม่ล่าสุด

ข่าวเด็ด ห้ามพลาด