ที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง ตำบลสำโรงเหนือ อ.เมือง จังหวัดสมุทรปราการ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้นายคเณศ กมลพันธ์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวจังหวัดสมุทรปราการ นายธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ภาคประสังคมสมุทรปราการ เข้าพบเพื่อสวัสดีปีใหม่ไทย สืบสานวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ ปี ๒๕๖๗ และมีการนำเสนอข้อมูลจากภาคประชาชน ผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนสุขภาพและปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพในมิติต่างๆ ซึ่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยเด็กและเยาวชน การส่งเสริม Activity และการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ
นายคเณศ กมลพันธ์ กล่าวถึงการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ มีผลเป็นรูปธรรม ชัดเจน ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สามารถขยายผลได้เป็นอย่างดี จึงขอโอกาสให้ภาคประชาชนได้เสนอข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์เชิงนโยบายด้านสุขภาพระดับประเทศต่อไป
ผลงานที่นำมายื่นต่อนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ที่ปรึกษานายกรับมนตรีนั้น ได้มาจากงานวิจัย ผศ.ดร.จักรพันธ์ พรมฉลวย อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีสมุทรปราการ ร่วมกับคุณธิติ ภัทรสิทธิกฤษ ภาคีสุขภาพสมุทรปราการ นำข้อมูลจากงานวิจัย ผลลัพธ์พฤติกรรมสุขภาวะ 4 ด้าน ในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า สุขภาวะทางกาย 3.85 มากที่สุดอันดับ 1 รองลงมา ได้แก่ สุขภาวะทางสังคม 3.59 สุขภาวะทางปัญญา 3.25 และสุขภาวะด้านจิตใจ 3.03
จาก 4 ด้าน มีผลการต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แบ่งเป็นด้านละ 5 อันดับ อาทิ สุขภาวะทางกาย อันดับ 1 คือ การเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ยาบ้า การพนัน สุขภาวะด้านจิตใจ เด็กเยาวชนมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำกิจกรรมในพื้นที่ปลอดภัย ส่งผลเปลี่ยนแปลงอันดับ 1 เป็นต้น
จากข้อมูลการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์กิจกรรมสร้างสุขที่ปลอดภัย โดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตรงตามความต้องการของเด็กและเยาวชนที่มุ่งเน้นกิจกรรมทางกายเป็นอันดับต้นๆ
ช่วยลดพื้นที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง จากบุหรี่ไฟฟ้า กระท่อม กัญชา สุรา ยาสูบ สิ่งเสพติดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาสังคม ซึ่งไม่ตรงตามความต้องการของเยาวชนที่ควรได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสมกับวัย
นอกจากนี้ทีมงาน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั่วไปต่อร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….. และการเปรียบเทียบ 5 ร่างจากสมุดปกขาวเล่มที่ 4
โดยภาคประชาชนมีข้อห่วงใยในเรื่อง การแก้ไข พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551
ในประเด็น การส่งเสริมการขายในกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน วิธีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มสถานที่ขาย สถานที่ดื่ม เวลาขาย
ขอให้คำถึงถึงผลกระทบในด้านสุขภาพ อุบัติเหตุ ระยะเวลาเดินทางในพื้นที่ชุมชนเมือง ที่มีความหนาแน่น ปริมาณโรงเรียนในพื้นที่ และ สถานที่ อาจไม่ใช่เป็นพื้นที่กระตุ้นเศรษฐกิจ และความพร้อมในการ Zoning
ซึ่งสรุปข้อห่วงใยไว้ โดยขอให้คำถึงถึงผลกระทบในด้านสุขภาพ อุบัติเหตุ เช่น ระยะเวลาเดินทางในพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่น ปริมาณโรงเรียนในพื้นที่จำนวนมาก และ สถานที่ อาจไม่ใช่เป็นพื้นที่กระตุ้นเศรษฐกิจ และความพร้อมในการ Zoning
อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ ที่อยู่ในระบบงบประมาณของรัฐ อาจจะมีความล่อแหลมด้านการบริหารจัดการ หรือพฤติกรรมหลังการทำกิจกรรม ทั้งความรุนแรง การเดินทาง การล่วงละเมิด ความน่าเชื่อถือ
และภาพลักษณ์ที่อาจจะถูกเผยแพร่ลงสื่อออนไลน์ก่อให้เกิดความเสียหายในพื้นที่นั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มี “กลไกสมัชชาเครือข่ายควบคุมแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด” ร่วมกับทุกภาคส่วน มีความสำคัญมาก ตามสภาพแวดล้อม บริบทของภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน
กอรปกับปัจจุบันพื้นที่ยังมีแนวโน้มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย เช่น สุขภาพจิต ความรุนแรง HIV และความเหลื่อมล้ำในสังคมอีกด้วย
ทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจึงขอให้ภาครัฐร่วมสนับสนุนแก้ไขปัญหาด้วยความจริง
ขณะที่นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงความมุ่งมั่นขงรัฐบาล ที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเชื่อว่าจะมีการดำเนินงานไปในทิศทางที่ดี เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแน่นอน ที่ผ่านมามีการส่งเสริมสนับสนุน Activity ที่หลากหลายเพื่อเด็กและเยาวชนจำนวนมาก
โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการนั้น มีรูปธรรมความสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งมีความพยายามผลักดันกลไกจากภาคประชาชน ภาคเอกชน ในการจัดตั้งองค์กร เพื่อพัฒนาการศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ส่งเสริมให้ระบบการศึกษามีคุณภาพ เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ และสร้างประชากรคุณภาพ ให้เป็นกำลังที่สำคัญของชาติในอนาคตต่อไป