สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของคนไทยที่ต้องรู้
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดให้คนไทยทุกคนมีสิทธิ ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มี “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
“สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” หรือ “สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาท” เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด และตลอดช่วงชีวิต (ไม่ใช่สิทธิเพื่อการสงเคราะห์เฉพาะกลุ่ม)
ในการคุ้มครองสิทธิหลักประกันสุขภาพ นายสุรพล เอกวณิชสกุลพร ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สปสช. เขต 6 ระยอง : //ให้สัมภาษณ์ สถานีวิทยุกระจายแห่งประเทศไทย การดำเนินงานคุ้มครองสิทธิหลักประกันสุขภาพ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3 ข้อ คือ
1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ (ที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของรัฐ) ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง
ใครบ้างมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ?
• เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจากบิดามารดา
• บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไปหรือสมรส) และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ
• บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ เช่น สิทธิข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน
• ผู้ประกันตนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (หมดสิทธิประกันสังคม)
• ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากราชการโดยมิได้รับบำนาญ
• ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
กลุ่มคนเหลานี้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศติดต่อกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป (ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) หรือผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้งในต่างประเทศ (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง) จะสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งขาติต่อเมื่อเดินทางกลับมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว โดยประชาชนติดต่อแก้ไขสถานะบุคคล ณ หน่วยบริการโนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้บ้าน
วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง
โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2