การศึกษาไทยยุคปัจจุบัน ถูกจัดอยู่ในลำดับท้ายเกือบสุดในอาเชียน ถือว่าล้มเหลว นักเรียนต้องเรียนอยู่ในห้องเรียนยาวนานเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แม้จะมีการปรับเปลี่ยนย่นเวลาในห้องแล้วก็ตาม
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สพฐ.ก็ออกมาประกาศเปลี่ยนนโยบายใหม่เน้นรูปแบบการศึกษาใหม่ ให้เข้ากับยุคสมัย โดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เตรียมนำหลักสูตรสมรรถนะตามช่วงวัย
หลักการคือ มุ่งพัฒนาสมรรถนะตามการพัฒนาของผู้เรียน 5 ช่วงวัย คือระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ระดับมัธยมมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ทั้งนี้หลังจัดทำร่างหลักสูตรเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการทำคู่มือและสื่อประกอบการใช้หลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจะเปิดรับสมัครสถานศึกษาที่มีความพร้อมและสมัครใจเป็นสถานศึกษาแกนนำใช้หลักสูตร ทั้งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้พร้อม ก่อนนำหลักสูตรไปใช้ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๘
ทางด้านสำนักงานรับรองมาตรฐานและประประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) องค์การมหาชน ได้ออกประกาศกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ในระดับการศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาชั้นพื้นฐาน การศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา ได้วางกรอบแนวทางให้สถานศึกษาปฎิบัติ ก่อนที่จะลงทำการสำรวจประเมิน และหากสถานศึกษานั้นผ่านเกณฑ์ ก็ประกาศให้ทราบถึงคุณภาพ
วันที่ ๙ พ.ย. ๖๗ ที่ห้องประชุมโรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ ดร.วีรนุช สุทธพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การประกันคุณภาพของสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินภายนอก โดยมีนางสาว วรรธนภรณ์ ศรีสุข ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 เป็นวิทยากร
การอบอรมครั้งนี้มีจำนวนโรงเรียนที่เข้ารับการอบรม ได้แก่ ผู้บริหาร ครูโรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ โรงเรียนวัดไตรมิตรวรารม โรงเรียนคลองสองพี่น้อง(ใจดีอุปถัมภ์) โรงเรียนวัดสำโรงเหนือ (สุขราษฎร์ศึกษา) มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น ๗๙ คน