”ประชาธิปัตย์“เสนอทีดีอาร์ไอ(TDRI)ยุทธศาสตร์การค้าการลงทุนพืชไร่เศรษฐกิจมันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อัพเกรดศักยภาพใหม่ประเทศไทย
“อลงกรณ์”ย้ำเศรษฐกิจเกษตรต้องแข็งแกร่งไม่ว่าจะเผชิญสงครามหรือสันติภาพในภาวะโลกร้อนโลกรวน
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคประชาธิปัตย์และประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการสัมมนาจัดโดยทีดีอาร์ไอ(TDRI)ร่วมกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ากระทรวงพาณิชย์
นายอลงกรณ์นำเสนอในการสัมนาว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอันดับ12ของโลกมีศักยภาพสูงมากสำหรับพืชไร่เศรษฐกิจเช่นมันสำปะหลังสามารถผลิตได้เป็นอันดับสามของโลกปีละ 30 ล้านตันจากพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 10 ล้านไร่ ในกว่า 54 จังหวัดและเป็นประเทศแชมป์โลกในการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกันกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศ ที่มีวัตถุดิบเป็นของตัวเองแต่เกษตรกรยังยากจนและราคาผันผวนตลอดเวลาส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 7 ล้านไร่ มีผลผลิต 4–5 ล้านตันต่อปีแต่มีความต้องการในประเทศ 8.1–8.9 ล้านตันจึงต้องนำเข้าจากเพื่อนบ้านภายใต้ AFTA 1–2 ล้านตันส่วนใหญ่นำเข้าจากเมียนมา 93%และประเทศอื่นๆแสดงว่ายังมีตลาดในประเทศที่มีความต้องการสูงมากปีละ3-4ล้านต้นหากพัฒนาผลิตภาพการผลิตด้วยพันธุ์ที่ดีใช้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมสมาร์ทฟาร์มมิ่ง(Smart Farming)ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้วางรากฐานไว้เช่นเกษตรอาหารเกษตรพลังงานเกษตรสุขภาพและเกษตรท่องเที่ยวจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตทดแทนการนำเข้าได้อีกมาก
พรรคประชาธิปัตย์มีแนวทางยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของมันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เวอร์ชั่นใหม่ นั่นคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ(BioIndustry)และเศรษฐกิจชีวภาพ(BioEconomy) โดยการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษไบโอรีไฟนารี่(BioRefinary)สำหรับพืชไร่เศรษฐกิจในกลุ่มจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหลักเช่น กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ซึ่งประกอบไปด้วยนครราชสีมาชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์โดยนำวัตถุดิบมาเพิ่มมูลค่าแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้แก่อาหารคน อาหารสัตว์ อาหารเสริม ผงชูรส น้ำตาลเทียม เชื้อเพลิงชีวภาพ(BioFuel) ผลิตภัณฑ์ยา กระดาษ ไบโอพลาสติก ไบโอฟิล์ม ฯลฯ
“นี่คือโอกาสการลงทุนใหม่ๆและการสร้างการค้าใหม่ๆสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีมูลค่าสูงขึ้นไม่ใช่การค้าการลงทุนที่เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปขั้นต้นซึ่งมีราคาต่ำและแข่งขันในตลาดล่าง เราต้องก้าวสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ราคาสูง “
อดีตรัฐมนตรีอลงกรณ์เจ้าของฉายา”มิสเตอร์เอทานอลได้ยกตัวอย่าง ผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ที่เกี่ยวกับพืชไร่เศรษฐกิจ
กรณี รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีนายชวนหลักภัยเป็นนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรเป็นเอทานอลใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเรียกว่าแก็สโซฮอลล์ในเดือนกันยายนปี 2543 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนับเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ของยกระดับการพัฒนาพืชไร่เศรษฐกิจที่มีแป้งและน้ำตาลเป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นอ้อย มันสำปะหลังและต่อมามีการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนผสมของวัตถุดิบผลิตเอทานอลเกรดพรีเมี่ยม
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังได้ยกตัวอย่างนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรม(Agritech and Innovation Center:AIC)ทุกจังหวัดถือเป็นโครงสร้างหลักด้านเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์ครอบคลุมทั่วประเทศรวมทั้งนโยบายลดโลกร้อนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutrality)และคาร์บอนเป็นศูนย์(Zero Carbon)ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity)การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินและผิวดิน การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนโดยดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งนโยบายเกษตรสร้างสรรค์ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์((Creative Economy)ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี นโยบายปราบทุจริตโดยนายบัญญัต บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคในขณะนั้นจนรัฐมนตรีเกษตรฯติดคุกจากโครงการปุ๋ยปลอมและนโยบายประกันรายได้เกษตรกร(Universal Basic Income)สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ปาล์มและยางพารา 8.13 ล้านครัวเรือนของพรรคประชาธิปัตย์โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงรัฐบาลที่แล้ว
“นโยบายส่วนหนึ่งเหล่านี้และแนวทางยุทธศาสตร์ใหม่ที่นำเสนอในวันนี้เป็นเสมือนคานงัดอัพเกรดศักยภาพใหม่ให้กับภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร(Agroindustry)เพื่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยในการเผชิญกับวิกฤตการณ์ไม่ว่าในยามที่มีสงครามหรือสันติภาพ เราต้องยืนบนขาของตัวเองให้ได้ในภาวะโลกร้อนและโลกรวน“
ทั้งนี้นายอลงกรณ์ยังได้นำเสนอรายงานเรื่อง“การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ(BioEconomy) จากมันสำปะหลังและข้าวโพด: ศักยภาพใหม่พืชเศรษฐกิจไทยศักยภาพใหม่ของพืชไร่“ต่อที่ประชุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรคประชาธิปัตย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรสร้างรายได้ที่สูงขึ้นให้กับเกษตรกรและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศ
นอกจากนี้ในการสัมนาที่โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรีเมื่อเร็วๆนี้เพื่อระดมความคิดเห็นประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของมันสำปะหลังและข้าวโพดมีภาคส่วนต่างๆเข้าร่วมได้แก่ตัวแทนเกษตรกร สมาคมการค้ามันสำปะหลังและข้าวโพด ตัวแทนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งตัวแทนพรรคการเมือง
ซึ่งดร.วิโรจน์ ณ ระนองหัวหน้าทีมวิจัยทีดีอาร์ไอได้นำเสนอรายงานผลการวิจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตการแปรรูปและตลาดทั้งในต่างประเทศรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาพืชเศรษฐกิจทั้งสองชนิดนี้พร้อมกับประเด็นนโยบายสาธารณะในอดีตถึงปัจจุบันเช่นนโยบายการประกันราคานโยบายการประกันรายได้นโยบายการแทรกแซงตลาดจนนโยบายการเพิ่มผลผลิตรวมไปถึงการพัฒนาเกษตรกร เป็นต้น.